เมนู

ก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้น บุรุษชื่ออิสิทัตตะจะได้รู้แม้คติของ
บุรุษชื่อปุราณะก็หามิได้ ดูก่อนอานนท์ คนทั้งสองนี้เลวกว่ากันด้วย
องค์คุณคนละอย่าง ด้วยประการฉะนี้.
จบมิคสาลาสูตรที่ 5

อรรถกถามิคสาลาสูตรที่ 5


คำใดจะพึงกล่าวก่อนในเบื้องต้นแห่งสูตรที่ 5 คำนั้น ก็กล่าวไว้
แล้วในฉักกนิบาต. ก็ในคำว่า ทุสฺลีโล โหติ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย
ดังนี้.
บทว่า ทุสฺลีโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่มีศีล. บทว่า เจโตวิมุตฺตึ ได้แก่
ผลสมาธิ. บทว่า ปุญฺญาวิมุตฺต ได้แก่ ผลญาณ. บทว่า ปนฺปชานาติ
ได้แก่ ไม่รู้โดยการเรียนและการสอบถาม. ในคำว่า ทุสฺสีลฺยํ อปริเสสํ
นิรุชฺฌติ
นี้ ความทุศีล 5 อย่าง โสดาปัตติมรรคละได้ก่อน ความทุศีล
10 อย่าง พระอรหัตมรรคละได้ ในขณะผลจิต [คืออรหัตผล] ความทุศีล
เหล่านั้น เป็นอัน ชื่อว่ามรรคละได้แล้ว. ทรงหมายถึงขณะแห่งผลาจิต
ในสูตรนี้ จึงตรัสว่า นิรุชฺฌติ ก็ศีลของปุถุชนย่อมขาดด้วยเหตุ 5
ประการ คือ ต้องอาบัติปาราชิก ลาสิกขา เข้ารีดเดียรถีย์ บรรลุ
พระอรหัต ตาย. ในเหตุ 5 ประการนั้น เหตุ 3 ประการข้างต้น เป็นไป
เพื่อความเสื่อม ประการที่ 4 เป็นไปเพื่อความเจริญ ประการที่ 5
ไม่เป็นไปเพื่อเสื่อมหรือเพื่อเจริญ. ถามว่า ก็ศีลนี้ขาดเพราะบรรลุพระ-
อรหัตอย่างไร. ตอบว่า เพราะว่าศีลของปุถุชนเป็นกุศลกรรมส่วนเดียว